Desserts Mate (ดิเซิร์ท เมท)

14 แป้งธัญพืชทดแทน แป้งทางเลือกสำหรับผู้แพ้กลูเตน

แป้งธัญพืชทดแทน

แป้งธัญพืชทดแทน

แป้งธัญพืชทดแทน เป็นแป้งที่ได้จากธัญพืชอื่นที่ไม่ใช่แป้งที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไป เช่นข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ มันสำปะหลัง และข้าวโพดเพราะพวกนี้จะมีสารกลูเตน (Gluten) โดยจะทดแทนด้วยการใช้วัตถุดิบเบเกอรี่ทางเลือกเข้ามาใช้ในการทำอาหารเพื่อผู้ที่มีข้อจำกัดทางอาหาร เช่น คนที่แพ้กลูเตนหรือต้องการเลี่ยงแป้งสาลี ให้ใช้แป้งถั่วเหลืองหรือแป้งลูกเดือยแทน

ชนิดแป้งธัญพืช

แป้งธัญพืชทดแทนเหล่านี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันและสามารถใช้ในการทำอาหารหลายประเภท เช่น การทำขนมปัง เบเกอรี่ และอาหารจานหลัก การเลือกใช้แป้งประเภทต่างๆ นี้ขึ้นอยู่กับสูตรขนมและผลลัพธ์ที่ต้องการได้จากขนมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น แป้งอัลมอนด์ มีรสชาติเข้มข้นและเหมาะสำหรับทำขนมปัง หรือขนมหวานที่ต้องการเนื้อสัมผัสที่เหนียวนุ่ม ธัญพืชที่สามารถใช้ทดแทนแป้งได้ มีดังนี้

  1. แป้งถั่วชิกพี (chickpea flour) : คุณสมบัติของแป้งถั่วชิกพี คือ มีสีเหลืองอ่อนและมีรสชาติที่เฉพาะตัว ซึ่งสามารถเพิ่มความหลากหลายในรสชาติของอาหาร แป้งนี้ยังอุดมไปด้วยโปรตีนและไฟเบอร์ รวมทั้งมีวิตามินและเกลือแร่ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม และวิตามินบี เหมาะสำหรับใช้ทำอาหาร ขนมหลากหลายประเภท เช่น แพนเค้ก บิสกิต และเป็นส่วนผสมในอาหารอินเดียและอิตาเลียน ตัวแป้งมีคุณสมบัติในการผสมผสานได้ดีกับส่วนผสมอื่นๆ
  2. แป้งอัลมอนด์ (almond flour) : คุณสมบัติของแป้งอัลมอนด์มีสีอ่อนกว่าแป้งข้าวสาลีและมีกลิ่นหอมของอัลมอนด์อ่อนๆ เป็นที่นิยมใช้ในการทำขนมหวาน เช่น เค้ก คุกกี้ แพนเค้ก อุดมไปด้วยโปรตีน ไฟเบอร์ วิตามินอี และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น โอเมก้า3 และโอเมก้า6 แป้งชนิดนี้ยังมีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล
  3. แป้งผักโขม (spinach flour) : คุณสมบัติแป้งผักโขมมีสีเขียวเข้มจากคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียวในพืช มีวิตามินและเกลือแร่ที่มาจากผักโขม ทำให้มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เหมาะสำหรับเพิ่มค่าโภชนาการในเมนูอาหารที่ใช้แป้ง อย่างไรก็ตาม แป้งผักโขมอาจไม่มีคุณสมบัติเดียวกันกับแป้งข้าวสาลีในเรื่องของการยืดหยุ่นหรือความเหนียว เนื่องจากขาดกลูเตน จึงอาจต้องปรับสูตรในการทำอาหารเมื่อใช้แป้งชนิดนี้
  4. แป้งบัควีท (buckwheat flour) : คุณสมบัติแป้งบัควีทมีสีเข้มและรสชาติที่เข้มข้นกว่าแป้งข้าวสาลีทั่วไป มันมีกลิ่นหอมและรสชาติที่เฉพาะตัวซึ่งสามารถเพิ่มความหลากหลายให้กับเมนูอาหาร แป้งบัควีทยังอุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น โปรตีน ไฟเบอร์ วิตามินบี แมกนีเซียม และเหล็ก
  5. แป้งลูกเดือย (Job’s tears flour) : คุณสมบัติของแป้งชนิดนี้ให้เนื้อสัมผัสที่ละเอียดและเนียน เหมาะสำหรับการใช้ในเมนูที่ต้องการเนื้อสัมผัสที่ละเอียดบางเบา เช่น ขนมปัง ขนมครก หรือสปันจ์เค้ก ใช้ทำเบเกอรี่ และขนมทอด เหมาะสำหรับทำขนมปัง ขนมอบ พุดดิ้ง หรือซอสที่ไม่ต้องการให้รสชาติหลักเปลี่ยนแปลงไป
  6. แป้งข้าวกล้อง (brown rice flour) : คุณสมบัติของแป้งข้าวกล้องมีรสชาติและสีสันที่อ่อนกว่าแป้งสาลี อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินบี แร่ธาตุ เช่น แมกนีเซียมและเหล็ก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื้อสัมผัสเนียนละเอียดและเบา เหมาะสำหรับใช้ทำขนมปัง คุกกี้ และขนมอบต่างๆ
  7. แป้งควินัว (quinoa flour) : คุณสมบัติของแป้งควินัวมีรสชาติที่เฉพาะตัวมีความขมเล็กน้อย เนื้อสัมผัสมีความหนาจึงเหมาะสำหรับการทำขนมปัง คุกกี้ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โปรตีนคุณภาพดีที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ไฟเบอร์ แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินบี
  8. แป้งมะพร้าว (coconut flour) : คุณสมบัติที่แตกต่างจากแป้งปกติเนื่องจากแป้งมะพร้าวมีเนื้อสัมผัสหนานุ่ม ชุ่มชื้น รสชาติหอมมัน สามารถใช้ในการทำเบเกอรี่ได้หลากหลายชนิด เช่น เค้ก คัพเค้ก มัฟฟิน คุกกี้ บิสกิต พาย ทาร์ต แพนเค้ก วาฟเฟิล
  9. แป้งข้าวฟ่าง (sorghum flour) : ทำมาจากเมล็ดข้าวฟ่างบดละเอียด ซึ่งแป้งชนิดนี้ปราศจากกลูเตนตามธรรมชาติ แป้งข้าวฟ่างมีสีอ่อน รสหวานอ่อนๆ เนื้อสัมผัสละเอียดและนุ่ม สามารถใช้ได้ทั้งในสูตรขนมปัง ขนมอบ และเบเกอรี่หลากหลายเมนู รวมถึงยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้แพ้กลูเตน เหมาะสำหรับทำขนมปังแผ่น พาย เบเกอรี่ต่างๆ
  10. แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี (riceberry Flour) : ลักษณะของแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี มีสีม่วงและมีกลิ่นหอมแรง ได้สีม่วงจากแอนโทไซยานินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระดีต่อสุขภาพอย่างมาก เนื้อสัมผัสหนาแน่น เหมาะสำหรับทำขนมปังอบแบบไม่มีกลูเตน
  11. แป้งมันฝรั่ง (potato starch) : คุณสมบัติมีสารเพิ่มความข้นที่มีประสิทธิภาพ ปราศจากกลูเตนช่วยให้ผู้ที่แพ้กลูเตนหรือผู้ที่เป็นโรคเซลิแอก ใช้เป็นทางเลือกแทนสารเพิ่มความข้นที่ทำจากข้าวสาลี ลักษณะเป็นเนื้อสีขาว เนื้อละเอียดบางเบา ให้รสชาติที่เป็นกลางและสามารถใช้แป้งชนิดได้โดยไม่ต้องทาน้ำมันที่กะทะ
  12. แป้งข้าวโอ๊ต (oat flour) : คุณสมบัติเนื้อแป้งจะมีความหนาแน่นกว่าแป้งชนิดอื่น เพราะแป้งข้าวโอ๊ตมีโปรตีนในปริมาณที่สูงกว่าแป้งชนิดอื่นๆ นั่นเอง เหมาะสำหรับทำเบเกอรี่ เช่น เค้ก หรือมัฟฟิน แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับสูตรขนมที่ต้องการเนื้อสัมผัสที่เบา และกรอบ เช่น พาย ขนมปังแบบบางๆ อย่างไรก็ตาม มันเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเลี่ยงกลูเตนหรือต้องการทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น
  13. แป้งกล้วยดิบ (green banana flour) : คุณสมบัติของแป้งกล้วยดิบเนื้อสัมผัสที่หนาแน่นและชุ่มชื้น เหมาะสำหรับใช้ในการทำเบเกอรี่ที่ต้องการความชุ่มชื้น เช่น มัฟฟิน หรือ เค้ก มีกลิ่นหอมของกล้วยเล็กน้อย และยังเป็นสารเพิ่มความข้นเพราะมีปริมาณแป้งที่สูงทำให้เป็นสารยึดเกาะและสารเพิ่มความข้นได้ดีเยี่ยม เหมาะกับเบเกอรี่ที่มีรสหวาน และต้องการความข้น
  14. แป้งถั่วลูกไก่ (chickpea flour) : เป็นแป้งไม่มีกลูเตนแต่มีโปรตีนและเส้นใยสูงกว่าแป้งทั่วไป เนื้อสัมผัสที่หนาแน่นตามธรรมชาติ มีสีออกเหลือง และให้รสชาติเข้มข้น เหมาะสำหรับใช้ทำขนมปัง ขนมอบ และเค้ก ซึ่งในทางกลับกันแป้งอเนกประสงค์มีเนื้อสัมผัสบางเบาและมีรสชาติจืดชืดทำให้นำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายกว่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามเมล็ดธัญพืชบางชนิดเป็นทางเลือกและวัตถุดิบทดแทนข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์มีให้เลือกอีกมากมาย ที่จะนำมาใช้ในการผลิตขนมอบ เบเกอรี่แบบปราศจากกลูเตนช่วยลดอาการแพ้กลูเตน (Gluten Intolerance) ที่ส่งผลทำให้มีอาการท้องอืด มีก๊าซในกระเพาะ และท้องเสียถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงแต่กระบทต่อสุขภาพในระยะยาว

สนใจสอบถาม/สั่งซื้อ ผงไส้สำเร็จรูป คลิ๊ก : @ Desserts Mate