คาเฟ่ร้านขนมไทย จัดแต่งอย่างไรให้ดึงดูดลูกค้า
คาเฟ่ร้านขนมไทย การจัดแต่งร้านขนมไทยสามารถทำได้หลายแนวทางตามสไตล์ และความชอบของเจ้าของร้าน แต่นี่คือบางไอเดียที่อาจจะช่วยให้ร้านของคุณดูน่าสนใจและเชิญชวนให้ต้องการกลับมาอีกครั้ง 1. ใช้สีสันที่อบอุ่นและสดใสเพื่อสะท้อนถึงความเป็นไทย สีเหลือง ส้ม และเขียว เป็นตัวเลือกที่ดีเพื่อสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นกันเอง 2. การใช้วัสดุเช่น ไม้ ไผ่ หรือผ้าฝ้ายที่มีลวดลายไทยสามารถเพิ่มความเป็นธรรมชาติและเสน่ห์แบบไทย 3. จัดแสดงขนมไทยในตู้กระจกที่สะอาดและน่าดึงดูด เพื่อให้ลูกค้าเห็นถึงความหลากหลายและความสดใหม่ของขนม 4. ใช้งานศิลปะและของตกแต่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของไทย เช่น ภาพวาดที่แสดงถึงวัฒนธรรมไทยตุ๊กตาหรือของสะสมที่มีความหมายต่อวัฒนธรรมไทย 5. จัดเฟอร์นิเจอร์ที่สะดวกสบายและมีสไตล์เพื่อสร้างบรรยากาศที่เชิญชวนให้ลูกค้าอยากนั่งพักและเพลิดเพลินกับขนมไทย 6. การเล่นดนตรีไทยหรือเพลงที่สงบนุ่มนวลในร้านสามารถช่วยสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย 7. ภายในมีเครื่องปรับอากาศที่ทำให้อากศเย็นสบาย หรือภายนอกจัดเป็นสวนให้สารมารถนั่งทานขนมท่ามกลางธรรมชาติที่เย็นสบาย ความอร่อยของของไส้ขนมแบบไทย ทำง่าย สะดวก ใช้เวลาไม่นาน สร้างกำไร สนใจสอบถาม/สั่งซื้อ ผงไส้ขนมสำเร็จรูป คลิ๊ก : @ Desserts Mate การดูแลรักษาแอร์ภายในร้าน การดูแลและรักษาเครื่องปรับอากาศในร้านที่มีกลิ่นอาหารต้องเป็นไปอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นอาหารตกค้างและเพื่อรักษาประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ นี่คือข้อแนะนำหลัก ๆ ดังนี้ 1. ฟิลเตอร์ของแอร์ควรถูกทำความสะอาดหรือเปลี่ยนทุก ๆ 1-3 เดือน ขึ้นอยู่กับการใช้งานและระดับของกลิ่นอาหารในร้าน 2. ควรทำความสะอาดช่องลมและหน่วยภายนอกเพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นและสิ่งสกปรกที่อาจมีกลิ่น […]
มาตราชั่งตวงวัดของเบเกอรี่และอาหาร
มาตราชั่งตวงวัด มาตราชั่งตวงวัด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดปริมาณส่วนผสมต่างๆ เมื่อทำอาหารคาว ทำขนม หรือเบเกอรี่ เช่น ชั่งน้ำหนักแป้ง ตวงน้ำตาล หรือวัดปริมาณของเหลวอย่างนมหรือไข่ ซึ่งมาตราชั่งตวงวัดมีด้วยกันมีหลายประเภท ประเภทมาตราชั่งตวงวัด ตาชั่งดิจิตอล ใช้วัดน้ำหนักส่วนผสมได้อย่างแม่นยำ แสดงผลบนหน้าจอดิจิตอล ตาชั่งแบบเข็ม ตาชั่งแบบดั้งเดิมที่ใช้เข็มชี้น้ำหนักส่วนผสมบนแผ่นสเกล ถ้วยตวง ใช้สำหรับตวงวัดปริมาณของเหลวหรือวัตถุที่ไม่สามารถชั่งได้ ช้อนตวง มีหลายขนาด เช่น ช้อนชา, ช้อนโต๊ะ ใช้วัดปริมาณเครื่องเทศหรือส่วนผสมเล็กๆ มาตราส่วนทั่วไป 1 ถ้วยตวง เท่ากับ 16 ช้อนโต๊ะ ½ ถ้วยตวง เท่ากับ 8 ช้อนโต๊ะ ½ ถ้วยตวง เท่ากับ […]
ซอสทำขนม และการตกแต่งลวดลายลงในจานขนมหวาน
ซอสทำขนม การตกแต่งจานด้วยซอสเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยใช้ซอสที่ทำด้วยวัตถุดับต่าง ๆ ซึ่งไอเดียตกแต่งจานขนมหวานมีวิธีการสร้างศิลปะจากการใช้ขวดบีบ การใช้แปรงทาซอส การใช้ช้อน การใช้ส้อม เป็นการสร้างสรรค์ศิลปะลงบนจานให้ดูไม่จืดชืดดูสดใสขึ้น การตกแต่งลวดลาย เช่น ซอสผลไม้ ซอสช็อกโกแลต ซอสแยม ซอสนมสด ซอสคาราเมล หรือจะใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพิ่มโทนสีบนจานขนมหวาน ซึ่งเชฟสามารถยกระดับการเสิร์ฟขนมหวานที่ไม่ธรรมดาไม่เพียงแค่ความอร่อย แต่ยังเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ที่น่าดึงดูดใจ และยกระดับของหวานขึ้นไปอีกระดับ วิธีวาดลวดลายลงในจานขนมหวาน การวาดเป็นรูปตัว C คือ ใช้ปลายช้อนลากซอสเพื่อให้เป็นเส้นโค้ง การวาดแบบหมุนวน คือ การบีบขวดที่ใส่ซอสให้หมุนเป็นวงกลมจำนวนวงที่หมุนตามที่ต้องการ การวาดเส้นหยัก หรือแบบฟันปลา คือ การบีบขวดใส่ซอสขนม ขึ้น – ลง ให้น้ำหนักมือเท่า ๆ กัน การหยดซอสให้เป็นจุดต่อๆ กัน การใช้แปลงจุ่มซอสแล้วทาลงบนจานโดยตรงเริ่มจากซ้ายไปขวา การใช้ขวดซอสวาดโดยตรงเป็นรูปตามที่ต้องการ ซอสทำขนมที่นิยมใช้ ซอสแอปเปิล ใช้แอปเปิลกับน้ำเลมอน เพิ่มความหวานจากน้ำตาลทรายแดง เคี่ยวจนข้น กินกับวาฟเฟิล แพนเค้ก รวมทั้งสเต๊กตัดเลี่ยน ซอสคาราเมล สีน้ำตาลสวย […]
เบื้องหลังการเกิดเป็น “วุ้น” และการใช้ประโยชน์
วุ้น วุ้น (Agar–Agar) คือ สารประกอบของน้ำตาลหลายโมเลกุล สกัดจากสาหร่ายทะเลสีแดง 2 ชนิด Gelidium (สาหร่ายเขากวาง) และ Gracilaria (สาหร่ายวุ้น หรือ สาหร่ายผมนาง) มีแพร่กระจายอยู่ทั่วโลกตามเขตพื้นที่ที่ติดชายฝั่งทะเลหรือบริเวณเกาะที่มีคลื่นลมสงบทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น สำหรับในประเทศไทยจะพบแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งของอ่าวไทยและฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ประเภทของวุ้น 1. วุ้นที่ทำจากเจลาติน (GELATIN) ทำมาจากคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนในเนื้อเยื่อพังผืดของสัตว์เ เช่น กระดูก เอ็น หนังสัตว์ การหุงต้มทำให้คลอลาเจนเปลี่ยนเป็นเจลาติน แล้วผ่านขบวนการทำให้แห้งและบดให้เป็นเม็ดเล็กๆ เจลาตินในท้องตลาดมีขายทั้งในลักษณะเป็น เม็ด ผง เกล็ดและแผ่น การนำไปใช้ต้องผสมเจลาตินกับของเหลวเย็นในปริมาณเล็กน้อย ตั้งไว้จนอ่อนตัวลง จึงนำไปตั้งไฟเพื่อให้เจลาตินกระจายไปทั่ว หรือจะเติมน้ำร้อนลงในเจลลาตินที่อ่อนตัวนั้นได้ แล้วคนจนส่วนผสมใส ไม่มีเม็ดเจลาตินเหลืออยู่ จึงเติมส่วนผสมอื่น เช่น น้ำตาล เกลือ 2. วุ้นที่ทำจากสาหร่ายทะเล (AGAR-AGAR) เป็นกัมที่สกัดได้จากสาหร่ายทะเลสีแดงบางชนิด เช่น Gelidium-amansii, Gelldlum-pacificum ฯลฯ เป็น กัมที่ไม่ละลายน้ำเย็น แต่จะละลายในน้ำร้อน เมื่อแข็งตัวให้เจลที่มีลักษณะแข็งและยืดหยุ่นได้ดี เนื่อง […]
แป้งข้าวเหนียวดำ ทำมาจากอะไร
แป้งข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวดำ หรือ ข้าวก่ำ ( Black sticky rice ) เป็นข้าวชนิดหนึ่งที่เมล็ดมีสีม่วงเข้มเนื้อสัมผัสจะแข็งกว่าข้าวขาวทั่วไป เมื่อทำให้ข้าวเหนียวดำสุกจะมีกลิ่นหอม รสชาติหวานตามธรรมชาติ แป้งข้าวเหนียวดำ คืออะไร แป้งข้าวเหนียวดำ ( Black Glutinous Rice Flour ) เป็นแป้งธัญพืชมีสีม่วงเข้ม กลิ่นหอม รสหวานตามธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยผลิตจากเมล็ดข้าวเหนียวดำที่ไม่ผ่านการขัดสีแปรรูปโดยนำเมล็ดข้าวเหนียวดำมาบดเป็นผง อุดมไปด้วยสารอาหารอีกมากมาย มีใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีธาตุเหล็กสูง ลักษณะสีม่วงอมเทากำลังได้รับนิยมใช้ทำขนมหวาน ขนมไทย หรือขนมที่ต้องการสีสัน เช่น ขนมบัวลอย ขนมเข่ง ขนมต้ม ขนมเทียน ขนมบ้าบิ่น แพนเค้ก เค้กข้าวเหนียวดำนึ่ง ข้าวเหนียวดำน้ำกะทิ ข้าวเหนียวดำกับถั่วดำ และข้าวหลาม เป็นต้น หากคุณเบื่อกับเมนูขนมหวาน ขนมไทย และเบเกอรีรูปแบบเดิม ๆ สามารถปรับเปลี่ยนสูตรขนมได้ตามใจชอบ เพื่อสร้างสรรค์เมนูใหม่ให้น่าสนใจ เราขอแนะนำ ” ผงไส้สำเร็จรูป ” โดยไม่ต้องตั้งไฟกวน สะดวก ทำให้ง่ายต่อการใช้เป็นไส้ขนม […]
แป้งมันสำปะหลังคืออะไร และทำมาจากไหน?
แป้งมันสำปะหลัง แป้งที่ใช้ในอุตสาหกรรมขนมอบเติมเพื่อเพิ่มอร่อยให้กับเมนูขนมสุดโปรดของคุณ ซึ่งแป้งทำขนมคือวัตถุดิบที่สำคัญอย่างหนึ่งต้องมีติดในครัวแทบทุกบ้าน แป้งเป็นส่วนผสมในเมนูต่าง ๆ ตั้งแต่การทำอาหาร การทำขนม รวมถึงการทำเบเกอรี แป้งมีหลายประเภทสิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าควรใช้แบบไหนและใช้อย่างไร แป้งมันสำปะหลัง คืออะไร แป้งมันสำปะหลัง (tapioca starch) ผลิตจากหัวมันสำปะหลังสดผ่านกระบวนการแปรรูปนำมาบดเป็นเนื้อแป้งสีขาว มีความละเอียด ลื่นมือ แป้งชนิดนี้ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ เมื่อสุกแล้วเนื้อแป้งมีสีใสเหนียวหนืด นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นสารเพิ่มความเข้มข้นสำหรับอาหารคาว ขนมหวาน เบเกอรี และที่สำคัญสามารถใช้แทนแป้งสาลีได้เช่นเดียวกัน ประโยชน์ของแป้งมัน เนื่องจากมีคุณสมบัติปราศจากกลูเตนตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้ถั่ว มะพร้าว และธัญพืช แป้งชนิดนี้สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสม เพิ่มความข้นหนืด เพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่ฟู และเพิ่มความชุ่มชื้นได้ วิธีใช้แป้งมัน ใช้ทดแทนแป้งข้าวโพดในอัตราส่วน 2:1 สร้างความชื้นให้กับขนมปัง เติมลงในสูตรคุกกี้ เพื่อช่วยให้เนื้อสัมผัสขณะเคี้ยวมีความเหนียวนุ่ม เติมลงในซอสผลไม้ เพื่อทำให้น้ำซอสข้นขึ้น เติมลงสูตรพุดดิ้ง สูตรคัสตาร์ด หรือไส้พายทำให้ข้นขึ้น สนใจสอบถาม/สั่งซื้อ ผงไส้สำเร็จรูป คลิ๊ก : @ Desserts Mate อ้างอิงรูปจาก : https://www.chemtradeasia.com/
แป้งข้าวโพด คืออะไร
แป้งข้าวโพด การทำขนมอย่างที่เราทราบกันดีกว่า แป้งทำขนม จำเป็นต้องเลือกแป้งให้เหมาะสมกับประเภทสูตรขนมประเภทต่าง ๆ เนื่องจากแป้งแต่ละชนิดมีโครงสร้างของโปรตีนหรือกลูเตนที่แตกต่างกัน แป้งข้าวโพด คืออะไร แป้งข้าวโพด Corn Starch สามารถนำมาผสมกับอาหารได้หลากหลายประเภททำมาจากเมล็ดข้าวโพดแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วจะได้เนื้อแป้งสีขาวเหลือง เนื้อเนียนละเอียดสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมทั้งในอาหารคาว ขนมหวาน ขนมปังอบ เพื่อใช้เป็นตัวเพิ่มความเข้มข้นเนื้อแป้งมีความใสและไม่มีกลิ่น ดังนั้นจึงไม่ทำให้อาหารขุ่นรวมถึงรสชาติของขนมอบ ขนมหวานไม่เปลี่ยนไป แป้งข้าวโพดมีรสชาติเป็นอย่างไร? เมื่อเติมแป้งลงในส่วนผสมต่างๆ แป้งข้าวโพดไม่มีรสชาติแต่อย่างใดเนื้อแป้งจะดูดซับของเหลวเมื่อถูกความร้อนเนื้อแป้งสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีใสเมื่อเย็นลงแล้วจะทำให้ส่วนผสมแข็งตัวขึ้น วิธีใช้แป้งข้าวโพด แป้งข้าวโพดเป็นที่นิยมนำมาใช้ทั้งเมนูอาหาร เมนูของหวาน หรือนำมาเป็นส่วนผสมกับแป้งชนิดอื่น ๆ ใช้งานง่ายเพียงผสมแป้งกับน้ำเปล่าที่มีอุณหภูมิปกติในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วคนแป้งให้ละลายเข้ากับน้ำ หรือใช้ผสมกับส่วนผสมอื่นได้ เช่น เติมแป้งลงในส่วนผสมของเนื้อแป้งเค้ก ช่วยให้เนื้อสัมผัสนุ่มยิ่งขึ้น หากคุณเบื่อกับเมนูขนมหวาน ขนมไทย และเบเกอรีรูปแบบเดิม ๆ สามารถปรับเปลี่ยนสูตรขนมได้ตามใจชอบ เพื่อสร้างสรรค์เมนูใหม่ให้น่าสนใจ เราขอแนะนำ ” ผงไส้สำเร็จรูป ” โดยไม่ต้องตั้งไฟกวน สะดวก ทำให้ง่ายต่อการใช้เป็นไส้ขนม ตกแต่งหน้าขนม และท็อปปิ้งสำหรับขนมอบทุกชนิด ซึ่งไส้สำเร็จรูป ” ตราตำหรับทอง ” […]
สารเสริมคุณภาพที่ใช้กับเค้กและเบเกอรี่
สารเสริมคุณภาพ สารเสริมคุณภาพ จะช่วยให้เนื้อเบเกอรี่มีปริมาตรมากขึ้น มีเนื้อฟูเบา นุ่ม และช่วยให้เก็บไว้ได้นานโดยที่ยังรักษาความสดใหม่ไว้ได้อีกด้วย สารเสริมที่นิยม 1. สารเสริมที่ใช้กับส่วนผสมที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ SP (เอสพี) เป็นสารที่ใชในการทำเค้กที่มีไข่เป็นส่วนผสมหลัก มีลักษณะเป็นครีมขุ่น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ช่วยให้เนื้อขนมละเอียด นุ่ม และ สามารถเก็บความชื้นได้นาน ประหยัดเวลาและแรงงานในการผสม เมื่อผสมแล้วไม่จำเป็นต้องอบทันทีส่วนผสมจะตั้งอยู่ได้ 2-3 ชั่วโมง เหมาะสำหรับ เค้กไข่ โอวาเล็ต (Ovalet) ลักษณะเป็นเจลสีส้มใส สีน้ำตาลอ่อนมีไข่เป็นส่วนผสมหลัก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เหมาะสำหรับ เค้กไข่ สปันจ์เค้ก ปุ้ยฝ้าย สาลี ซาลาเปา ฯลฯ 2. สารเสริมที่ใช้ส่วนผสมที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ อีซี 25 เค (EC 25 K) เป็นสารทีใช้ในเค้กที่มีไขมันเป็นส่วนผสมหลักอย่างเช่น บัตเตอร์เค้ก ชิฟฟอนเค้ก มีลักษณะคล้ายมันหมู เป็นครีมข้นสีเหลืองครีม จะช่วยในการรวมตัวของส่วนผสมทำให้ส่วนผสมมีเนื้อเนียนไม่แยกชั้นระหว่างของเหลวกับไขมัน ช่วยทำให้ปริมาตรของเค้กใหญ่ขึ้น ฟูขึ้น และมีความละเอียดเนียนนุ่ม เนื้อไม่แห้ง เหมาะสำหรับ […]
วัตถุดิบเบเกอรี่พื้นฐานประจำครัวที่ควรรู้
วัตถุดิบเบเกอรี่ นอกจากอุปกรณ์เบเกอรี่แล้ว วัตถุดิบเบเกอรี่ก็เป็นอีกสิ่งที่มีความสำคัญ และมีคุณสมบัติการใช้งานที่ต่างกัน โดยวัตถุดิบหลัก ๆ ที่ต้องมีติดครัวไว้ ดังนี้ วัตถุดิบเบเกอรี่ประจำครัว 1. แป้ง (flour) ที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ ผลิตจากเมล็ดข้าวสาลี ซึ่งมีด้วยกันหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็ผลิตออกมาเป็นแป้งสาลีต่างชนิดกัน ชนิดของแป้งสาลีที่มีขายทั่วไป ได้แก่ แป้งเค้ก (cake flour) ผลิตจากข้าวสาลีพันธุ์เบา (soft wheat) เป็นแป้งที่มีปริมาณโปรตีน (กลูเตน) ต่ำ เนื้อแป้งละเอียด ขาวกว่าแป้งสาลีชนิดอื่นๆ เหมาะสำหรับทำขนมที่ต้องการเนื้อละเอียด ฟู เบา เช่น เค้ก แป้งขนมปัง (bread flour) ผลิตจากข้าวสาลีพันธุ์หนัก (hard wheat) มีโปรตีนสูง เนื้อแป้งหยาบ แป้งขนมปังมีคุณสมบัติดูดน้ำได้ดี เมื่อนำไปผสมกับน้ำและสารขึ้นฟู เช่น ยีสต์ ในปริมาณที่เหมาะสมจึงทำให้แป้งมีความยืดหยุ่นและมีโครงสร้างที่เก็บฟองอากาศได้ จึงเป็นแป้งที่ใช้ทำขนมปัง หรือทำเค้กที่มีเนื้อแน่น แป้งสาลีอเนกประสงค์ (all-purpose flour) ผลิตจากข้าวสาลีพันธุ์หนัก ผสมกับข้าวสาลีพันธุ์เบา เป็นแป้งที่มีโปรตีนปานกลาง […]
ปัญหาของคุ้กกี้ที่อาจเกิดได้จากการทำ
ปัญหาของคุ้กกี้ คุกกี้ เป็นขนมที่ทำง่ายและอร่อยด้วยทำจากแป้งสาลีต่อมามีการพัฒนาสูตรคุ้กกี้ขึ้นมาหลากหลายสูตรจากนั้นนำไปอบด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสมจึงได้คุ้กกี้กรอบอร่อย เนื้อนุ่ม เคี้ยวหนึบ และหอมกลิ่นเนยแท้ ข้อผิดพลาดจากการทำคุ้กกี้ 1. คุ้กกี้สุกไม่เท่ากัน เกิดได้จากเตาอบไม่ได้กระจายความร้อนอย่างสม่ำเสมอเสมอไป 2. คุ้กกี้ไม่ขยายตัว เกิดได้จากตีส่วนผสมจนน้ำตาลละเอียดมากเกินไป หรือผสมน้ำตาลลงไปภายในครั้งเดียวจนหมด 3. คุ้กกี้มีสีเข้มเกินไป เกิดได้จากการใส่เบคกิ้งโซดามากเกินไป หรืออบขนมนานเกินไป 4. คุ้กกี้สีซีดเกินไป เกิดจากใช้เวลาในการอบน้อยเกินไป และตั้งค่าอุณหภูมิที่ไหมเหมาะสม 5. คุ้กกี้อบแล้วแผ่แบน รูปทรงไม่สวย เกิดได้จากใช้แป้งที่มีปริมาณโปรตีนต่ำเกินไป หรือผสมแป้งอ่อนเกินไป หรือตั้งค่าอุณหภูมิเตาไม่เหมาะสม 6. คุ้กกี้ไม่กรอบ แต่นิ่มข้างใน เกิดได้จากขณะอบใช้ไฟแรงเกินไป 7. ผิวคุ้กกี้แตกหักง่าย เกิดได้จากอบนานเกินไป ทำให้คุ้กกี้ขาดความชื้นในระหว่างการอบ และหลังอบ 8. คุ้กกี้แข็งเกินไป เกิดจากผสมแป้งนานเกินไป 9. คุ้กกี้ขยายตัวติดกัน เกิดจากการใส่คุ้กกี้บนถาดอบมากเกินไป หรือเว้นระยะน้อยเกินไปทำให้ขณะอบเกิดการขยายตัวติดกับชิ้นอื่น ๆ สนใจสอบถาม/สั่งซื้อ ผงไส้สำเร็จรูป คลิ๊ก : @ Desserts Mate